หางาน ค้นหางาน สมัครงาน


วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หลักการฝึกเบื้องต้นในการดีดพิณ

หลักการฝึกเบื้องต้นในการดีดพิณ

1. การฝึกดีด
/ - ล - ม / - ล - ม / - ล - ม / - ล - ม / - ล - ม / - ล - ม / - ล - ม / - ล - ม /
/ - ล - ม / - ล - ม / - ล - ม / - ล - ม / - ล - ม / - ล - ม / - ล - ม / - ล - ม /

2. การฝึกไล่เสียง 
ไล่เข้า / - - - ล / - - - ท / - - - ด / - - - ร / - - - ม / - - - ฟ / - - - ซ / - - - ล /
ไล่ออก / - - - ล / - - - ซ / - - - ฟ / - - - ม / - - - ร / - - - ด / - - - ท / - - - ล /

3. การเกริ่นแบบสั้น
/ - ล - ม / - ล - ม / - ด - ม / - ร - ม / - ด - ม / - ร - ม / - ซ - ม / - ร - ม /
/- ซ - ม / - ร - ม / - ซ - ม / - ร - ด / - ล - ด / - ร - ม / - ซ - ม / - ร - ด /
/ - ร - ด / - - - ล /

4. หัดเล่นเพลงไหผี
/ - ด - ท / - ล - ม / - - - - / - - - ด / - ร - ซ / - ล - ม / - - - - / - - - - /
/ - ด - ท / - ล - ม / - - - - / - - - ด / - ร - ม / - ซ - ล / - - - - / - - - - /
/ - - - ม / - - - ม / - - - - / - - - ด / - ร - ม / - ซ - ร / - - - - / - - - - /
/ - ม - ร / - ด - ท / - - - - / - ล - ท / - ม - ด / - ท - ล / - - - - / - - - - /
 

หลักการฝึกดีดพิณ

หลักการฝึกดีดพิณ
1. ในกรณีโน๊ต / - - - ด /   ให้ดีด  / - - - ลง /

2. ในกรณีโน๊ต / - ล - ด /   ให้ดีด  / - ลง - ลง /

3. ในกรณีโน๊ต / - - ด ร /   ให้ดีด  / - - ขึ้น ลง /

4. ในกรณีโน๊ต / - ร ด ร /   ให้ดีด  / - ลง ขึ้น ลง /

5. ในกรณีโน๊ต / ด ร - ด /   ให้ดีด  / ขึ้น ลง - ลง /

6. ในกรณีโน๊ต / ร ด ร ม /   ให้ดีด  / ขึ้น ลง ขึ้น ลง /    

ข้อสังเกตุ หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า  โน๊ตตัวที่ 1  และ  3  จะดีดขึ้น  โน๊ตตัวที่ 2  และ  4  จะดีดลง 

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การวางนิ้ว

การวางนิ้ว
        ต้องฝึกวางนิ้วตามตาราง อย่าใช้เพียงนิ้วเดียว หรือสองนิ้วที่ถนัดเป็นอันขาด
เพื่อให้จำตำแหน่งได้ดี  ดีดขึ้นลงให้คล่องเสมอ  และดีดเป็นเสียงรัวได้ (เสียงรัว  เกิดจากการดีดขึ้นลงในสายเดียวกันสลับกันอย่างสม่ำเสมอแล้วค่อยเพิ่มความเร็วขึ้นจนได้เสียงละเอียด)  ควรฝึกดีดทีละสาย  ดังนี้
        1. ห้องเพลงละ  1  ตัวโน๊ต                ม       ให้ดีดลง
        2. ห้องเพลงละ  2  ตัวโน๊ต        ร       ม       ให้ดีดขึ้น - ลง
        3. ห้องเพลงละ  3  ตัวโน๊ต        ด   ร  ม       ให้ดีดลง - ขึ้น - ลง
        4. ห้องเพลงละ  4  ตัวโน๊ต   ม   ด   ร  ม       ให้ดีดขึ้น - ลง - ขึ้น - ลง

จะเห็นได้ว่าเมื่อตกจังหวะไม้ดีดจะดีดลงทุกครั้ง

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิธีจับพิณ

วิธีจับพิณ
วิธีจับพิณ
        ส่วนมากนิยมใช้มือซ้ายจับที่คอพิณให้หัวแม่มืออยู่ที่ด้านหลังคอพิณ  นิ้วที่เหลือ  คือ นิ้วชี้  กลาง  นาง  ก้อย  ให้ล้อมไปด้านหน้า  เพื่อที่จะกดลงบนสายพิณได้สะดวก  ส่วนเต้าพิณให้อยู่บนตักมือขวาจับไม้ดีดหรือปิ๊กพร้อมที่จะดีดสายตรงบริเวณรูเสียง  ข้อศอกดลงด้านหน้าของเต้าพิณ

เมื่อพร้อมแล้วให้ฝึกดีดสายเปล่าทั้งสามสาย  โดยฝึกดีดทีละสาย  ดีดลงด้วยการสะบัดมือออกจากสายพิณ  ดีดขึ้นด้วยการตวัดมือเข้าหาตัวพิณ  ฝึกจนสามารถดีดสายที่ต้องการโดยไม่ต้องมองดูก็สามารถดีดถูก
       การใช้นิ้วควรฝึกวางตำแหน่งนิ้วให้ถูก  จนสามารถใช้ได้ทุกนิ้วอย่างมีประสิทธิภาพ  การกดนิ้วควรกดปลายนิ้วลงใกล้กับขั้นพิณ  โดยไม่กดแรงหรือเบาเกินไป  เพราะจะทำให้สำเนียงเพี้ยนหรือเสียงบอดได้

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การดีด พิณ

การดีดพิณ
การดีดพิณ
      
      ก่อนการฝึกดีดพิณ จะต้องตรวจสอบเสียงก่อน  ว่าพิณที่จะฝึกนั้นได้ตั้งสายหรือเทียบเสียงไว้ถูกต้องหรือยัง  ถ้ายังไม่ถูก  ต้องตั้งสายให้ถูกต้องก่อน
 
      การตั้งสายพิณนั้น  ต้องตั้งตามความต้องการของผู้เล่น  และตั้งตามลายเพลงที่จะเล่น  เพราะการตั้งสายพิณจะไม่ตั้งเหมือนกัน  ทั้งคนเล่นและลายเพลง

***ส่วนมากนิยมตั้ง เสียง ม  ล  มํ (Am)

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

คำศัพท์เฉพาะ พิณ

คำศัพท์เฉพาะ พิณ

คำศัพท์เฉพาะ
สายเอก       
- เป็นสายที่ 1 รูปร่างเป็นเส้นลวดเล็กๆ
สายกลาง     
- เป็นสายที่ 2 รูปร่างใหญ่กว่าสาย 1 เล็กน้อยทำด้วยลวด
สายทุ้ม        
- เป็นสายที่ 3 มีขนาดใหญ่กว่าสาย 2เล็กน้อยทำด้วยลวด
ไล่เสียง        
- เป็นการฝึกดีดและลงนิ้วตามนมเสียงโน๊ตต่าง ให้คล่อง
ทาง            
- คือระดับเสียงของพิณ
ลาย            
- คือการบรรเลงพิณตามโน๊ตเพลงพื้นเมืองอีสาน
ดีดลูกสะบัด  
- เป็นการดีดหนึ่งครั้งแต่ลงนิ้วหลายตัวโน๊ตอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันตามจังหวะจนฟังแล้ว  เป็นเสียงรัว
การดีดกรอเสียง
- เป็นการดีดขึ้นลงถี่ๆ ที่โน๊ตตัวใดตัวหนึ่ง อย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันตามจังหวะจนฟังแล้วเป็นเสียงรัว
คอพิณ
- เป็นส่วนที่ต่อจากกะโหลกพิณยาวไปถึงส่วนหัวของพิณ
นมพิณ
- เป็นเหมือนขั้นบันไดเป็นตัวกำหนดเสียงโน๊ตดนตรีนิยมใช้14ตัวหรือ14นม
กะโหลก
- เป็นตัวของพิณที่เจาะเป็นดพรงทำให้เกิดเสียงดัง และไพเราะ
หัวนาค หรือ หัวหงษ์
- เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของคันทวนหรือคอพิณ
ไม้ดีด
- เป็นสิ่งที่ใช้ดีดให้พิณมีเสียงดังทำด้วยเขาวัว แต่ปัจจุบันนิยมใช้พลาสติกทำ หรือที่เรียกกันว่า ปิ๊กดีดกีตาร์ นั่นเอง
ขึ้นสาย
- เป็นการตึงหรือหย่อนสายให้เสียงของพิณอยู่ในระดับที่ต้องการ หรือ ตามลายที่จะเล่นนั้นเอง
กรอ
- หมายถึงการดีดให้เสียงซึ้งดี เสียงโน๊ตเดินในลักษณะถี่ๆเร็วจนฟังแล้วเป็นเสียงรัว

พิณ 3 สาย

พิณ 3 สาย
ส่วนประกอบของพิณ
1. กะโหลกพิณ
    ต่อกับคอของพิณนิยมทำด้วยไม้ขนุน  เจาะที่กะโหลกพิณให้เป็นโพรง ส่วนหน้าพิณนิยมปิดด้วยไม้อัด และเจาะรูเล็กๆ  ที่หน้าพิณ

2. สายพิณ
    นิยมใช้สายลวดเล็กๆ ที่เป็นโลหะ เช่น เงิน ทองแดง สายเอกเล็กมาก สายกลางใหญ่กว่าสายเอก สายทุ้มใหญ่กว่าสายกลาง

***ปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์
      สาย 1 ขนาด 0.009 หรือ 0.010 ก็ได้
      สาย 2 ขนาด 0.012 หรือ 0.014 ก็ได้
      สาย 3 ขนาด 0.016 หรือ 0.020 ก็ได้

3. คอพิณ
    เป็นไม้ท่อนเดียวกันกับไม้กะโหลกพิณ

4. นมพิณ
    สมัยโบราณนิยมใช้ไม้ไผ่  แต่ ปัจจุบันนิยมทำด้วยพลาสติก หรือ โลหะ เช่น เงิน ทองเหลือง ทองแดง การติดนมพิณเริ่มติดจากรัดคอไปกะโหลก ใช้กาวทาที่นมแล้วนำไปติดที่คันทวน แล้วก็ทดลองขยับให้ได้เสียงตรงตามโน๊ตก่อนทุกนมแล้วจึงฝังลงให้แน่น

5. ลูกบิด
    สมัยโบราณนิยมใช้ไม้ทำลูกบิด แต่ปัจจุบันเป็นโลหะมีขายตามร้านขายเครื่องดนตรี

 

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

"พิณ" คืออะไร

"พิณ" คืออะไร?
         พิณเป็นเครื่องดนตรีประเภทสายชนิดหนึ่ง  นิยมเล่นในภาคอีสาน

ชนิดของพิณ พิณมี 3 ชนิด

1. พิณ  3  สาย
    - สายเอก  คือ  สายเล็ก จะอยู่ด้านล่าง
    - สายทุ้ม  เสียงกลาง  จะอยู่กลาง
    - สายทุ้ม  ต่ำ  จะอยู่ด้านบนเป็นสายใหญ่

2. พิณ  2  สาย
    ประกอบด้วยสาย  2  สาย  คือ  สายเอกจะอยู่ด้านล่าง  และ  สายทุ้มจะอยู่ด้านบน

3. พิณ  2  คอ
    คือ  พิณที่มีกะโหลกพิณ  1  ตัว  แต่คอจะมี  2  คอ  สายพิณของคอล่างนิยมทำเป็น  2  สาย  คอบนนิยมทำเป็น  3  สาย